วันเสาร์ที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2553

สรุปวิชางานเครื่องมือกลเบื้องต้น


สรุปวิชางานเครื่องมือกลเบื้องต้น
ความปลอดภัยในงานเครื่องกล
สรุปกฎความปลอดภัยในการปฏิบัติงาน
1. ตรวจสอบความพร้อมของเครื่องจักรทุกส่วน ให้แน่ใจก่อนเปิดเครื่อง
2. ทดลองเปิดและปิดเครื่อง
3. ก่อนเปิดเครื่องทำงานต้องแน่ใจว่าได้จัดยึดชิ้นงาน และเครื่องมือตัดไว้แน่น และเรียบร้อยแล้ว
4. ขณะเครื่องจักรกำลังทำงาน อย่าปรับแต่งเครื่อง หยอดน้ำมัน หรือปัดเศษชิ้นส่วนเพื่อทำความสะอาด
5. อย่าใช้มือหรือส่วนใด ๆ ของร่างกายหยุดเครื่องจักรแม้จะปิดสวิตช์แล้วก็ตาม
5. ควรรักษาพื้นที่ปฏิบัติงานให้สะอาด อย่าให้มีคราบน้ำมัน หรือเศษชิ้นงาน
6. ควรใช้เครื่องจักรเพียงคนเดียว อย่าให้เพื่อนเปิด ปิด เครื่องจักรให้
7. อย่าเล่นกันระหว่างปฏิบัติงาน
8. ระหว่างปฏิบัติงานกับเครื่องจักร ต้องมีสมาธิกับเครื่องจักร ไม่พูดคุยกับเพื่อน
9. อย่าปล่อยให้เครื่องจักรทำงานโดยไม่คอยควบคุม
10. บริเวณที่ปฏิบัติงานควรมีแสงสว่างที่พอเพียง
งานกลึง
ส่วนประกอบของเครื่องกลึงยันศูนย์
เครื่องกลึงยันศูนย์มีส่วนประกอบที่สำคัญๆ อยู่หลายชิ้น สามารถแยกเป็นส่วนประกอบใหญ่ๆ ได้เป็น 5 ส่วนสำคัญคือ
1. หัวเครื่องกลึง (Head Stock)
2. แท่นเลื่อน (Carriage)
3. ยันศูนย์ท้าย (Tail Stock)
4. ฐานเครื่องกลึง (Bed)
5. ระบบป้อน (Feed Mechanism)
การกลึงเรียว
1. กลึงเรียวปรับองศาป้อมมีด
2. กลึงเรียวปรับเยื้องศูนย์ท้ายแท่น
3. กลึงเรียวโดยใช้ชุดอุปกรณ์พิเศษ
งานกัด
เครื่องกัดที่ใช้มี 3 ชนิด
เครื่องกัดตั้ง มีดกัด คือ เอ็นมิล
เครื่องกัดนอน มีดกัด คือ คัตเตอร์
เครื่องกัดพิเศษ
งานตัด
เครื่องเลื่อยที่ใช้มี 3 ชนิด
เครื่องเลื่อยกล
เครื่องเลื่อยสายพาน
เครื่องเลื่อยวงเดือน
งานไส
เครื่องเลื่อยที่ใช้มี 2ชนิด
เครื่องไสตั้ง
เครื่องไสราบ
งานเจียระไน
1. เครื่องเจียระไนลับเครื่องมือ (Bench Grinder) มีทั้งแบบชนิดตั้งพื้น และชนิดตั้งโต๊ะ เป็นเครื่องเจียระไนที่ใช้ลับงานทั่ว ๆ ไป เช่น ลับมีดกลึง ลับดอกสว่าน เป็นต้น
2. เครื่องเจียระไนราบ (Surface Grinder Machine) เป็นเครื่องเจียระไนที่ใช้เจียระไนชิ้นงานแบนหรือเหลี่ยม ให้ผิวเรียบ โดยล้อหินจะหมุนอยู่กับที่ โดยโต๊ะงานจะเคลื่อนที่ผ่านไปมา
3. เครื่องเจียระไนทรงกระบอก (Cylindrical Grinder Machine) เป็นเครื่องเจียระไนที่ใช้เจียระไนผิวงานทรงกระบอก เช่น เพลา โดยที่ล้อหินจะหมุนตัดชิ้นงานด้วยความเร็วสูงและชิ้นงานจะหมุนรอบตัวเองและเคลื่อนที่ผ่านไปมา
4. เครื่องเจียระไนลับมีดตัดและเครื่องมือ (Cutter And Tool Grinder Machine) เป็นเครื่องเจียระไนที่ออแบบมาเพื่อใช้ลับเครื่องมือตัดโดยเฉพาะ เช่น มีดกัด รีมเมอร์ ดอกสว่าน เป็นต้น
งานเจาะ
1. เครื่องเจาะตั้งพื้น
2. เครื่องเจาะตั้งโต๊ะ
3. เครื่องเจาะเรเดียล
การลับมุมดอกสว่าน
ปลายดอกสว่านประกอบด้วยส่วนย่อย ๆ หลายส่วน มุมที่สำคัญต่าง ๆ ซึ่งอยู่ปลายดอกสว่านได้แก่
มุมจิก (Point Angle)
มุมหลบ (Lip Clearance Angle)
ดอกสว่านที่ใช้เจาะโลหะโดยทั่วไป มุมจิก (Point Angle) 118 องศา และมุมหลบ (Lip Clearance Angle) ประมาณ 12 องศา แต่อย่างไรก็ตาม มุมทั้งสองของดอกสว่านขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุ การลับดอกสว่านต้องสังเกตคมด้านนอก (Outer Corner) ต้องสูงกว่าคมเลื้อยด้านหลัง (Trailing Corner) ดังในภาพ และเอียงเป็นมุมประมาณ 12 องศา

สูตรการคำนวณความเร็วรอบ
RPM = CS x 1000
¶ D
RPM = ความเร็วรอบ (รอบ/นาที)
CS = ความเร็วตัด (เมตร/นาที)
D = เส้นผ่านศูนย์กลางชิ้นงาน ( มม.)
¶ = 3.1416
สูตรการคำนวณอัตราทด
i = n1
n2
i = d1
d2
n1 = d2
n2 d1
n1.d1 = n2.d2
i = อัตราทด
n1 = ความเร็วรอบของล้อขับ (รอบ/นาที)
n2 = ความเร็วรอบของล้อตาม (รอบ/นาที)
d1 = เส้นผ่านศูนย์กลางของล้อขับ (มม.)
d2 = เส้นผ่านศูนย์กลางของล้อตาม (มม.)